ไม่มีการศึกษาและรับรองถึงประสิทธิภาพของเมลาโทนิน ในการรักษาภาวะเจ็บป่วยใด ๆ โดยองค์การอาหารและยาของสหรัฐ (FDA) เมลาโทนินถูกใช้เป็นยาทางเลือกเพื่อช่วยรักษา
ภาวะนอนไม่หลับ (insomnia)
- ภาวะการนอนหลับยากของคนตาบอด (sleep disorders in blind people )
- ช่วงการนอนหลับที่ผิดปกติ (delayed sleep phase syndrome (DSPS)
- ปัญหาการนอนหลับของเด็กที่มีความผิดปกติด้านพัฒนาการหรือปัญหาทางสภาพจิต
- ยาช่วยในการนอนหลับหลังจากเลิกสูบบุหรี่หรือหยุดใช้ยา benzodiazepine
บางคนใช้เมลาโทนินเมื่อมีภาวะหูอื้อ, โรคอัลไซเมอร์, ภาวะซึมเศร้า, อาการอ่อนเพลียเรื้อรัง, กล้ามเนื้ออ่อนแรง (fibromyalgia), ปวดศีรษะ, ลำไส้แปรปรวน (IBS), โรคกระดูกพรุน, ภาวะ tardive dyskinesia (การเคลื่อนไหวผิดปกติ), โรคลมชัก, โรคมะเร็ง, ภาวะหมดประจำเดือน, การป้องกันผิวไหม้จากแดด (sunburn), ภาวะมีบุตรยาก และการคุมกำเนิด
ผลข้างเคียงของเมลาโทนิน
ผลข้างเคียงที่พบโดยทั่วไปของเมลาโทนิน (ควรแจ้งแพทย์หากผลข้างเคียงใดต่อไปนี้รุนแรงขึ้นหรืออาการไม่ดีขึ้น)
อาการง่วงนอนในเวลากลางวัน
อารมณ์หดหู่ซึมเศร้า
หงุดหงิด
ปวดท้อง
ปวดศีรษะ
เวียนศีรษะ มึนงง
เต้านมโตขึ้นในผู้ชาย
ปริมาณอสุจิลดลงในผู้ชาย
ความต้องการทางเพศลดลง
ที่มา https://www.honestdocs.co/melatonin-supplements
มีสมุนไพรช่วยให้นอนหลับดีจังค่ะ จะได้เลิกนอนนับแกะซะทีค่ะ
ReplyDeleteขอบคุณมากครับ
Delete